ในทางคณิตศาสตร์นั้น จำนวนเต็มแบ่งออกเป็น 3 ชนิดนะคับ จำนวนเต็มนั้นภาษาอังกฤษใช้คำว่า Integer ทั้ง 3 ชนิดประกอบไปด้วย
1. จำนวนเต็มบวก (Positive Integer) จำนวนเต็มบวกมีชื่อเรียกหลายชือคับ บางทีเรียกว่า จำนวนนับ หรือว่า จำนวนธรรมชาติ มีหลายชื่อมาก แต่ก็คือตัวเดียวกันนั่นแหละ จำนวนเต็มบวกมีมีสมาชิกดังต่อไปนี้
1,2,3,4,5,6,7,8,9,10,11,12,13,14...
ซึ่งจะเห็นว่าจำนวนเต็มบวกมีสมาชิกมากมายเป็นอนันต์ไปเรื่อยๆ ไม่มีสิ้นสุด ฉนั้นถ้าถามหาจำนวนเต็มบวกที่มากที่สุดอย่าได้ถามหาเลย เพราะหาไม่ได้แน่นอน แต่ถ้าถามหาจำนวนเต็มบวกที่น้อยที่สุด ก็คือ 1 นั่้นแหละ
2. จำนวเต็มลบ (Negative Integer) จำนวนเต็มลบจะเป็นอะไรที่ตรงกันข้ามกับจำนวนเต็มบวก กล่าวคือ จำนวนเต็มบวก จะเริ่มเต็มจาก 1 ซึ่งมีค่าน้อยสุด และเพิ่มเป็น 2 ,3 ซึ่งมีค่าเพิ่มขึ้นเรื่่อยๆ พูดง่ายๆก็คือเริ่มจากน้อยไปหามาก แต่จำนวนเต็มลบนั้นตรงข้ามกันเลย จะเริ่มจากมาก ไปหาน้อย เรามาดูสมาชิกของจำนวนเต็มลบกันเลย
-1,-2,-3,-4,-5,-6,-7,-8,-9,-10,-11,-12,-13,-14,-15,-16,-17,-18,...
จะเห็นว่าจำนวนเต็มลบเริ่มจากตัวที่มีค่ามากสุดคือ -1 (ติดลบน้อยก็แสดงว่ามีค่ามากนะ) จากนั้นค่าจะลดลงเรื่อยๆ ฉนั้นถ้าถามหาจำนวนเต็มลบที่มีค่าน้อยสุด หาไม่ได้นะจ๊ะมันลดลงไปได้เรือยๆ แต่จำนวนเต็มลบที่มีค่ามากสุดคือ -1 นั้่นเอง
3.จำนวนเต็มศูนย์(Zero) หรือเรียกสั้นว่า ศูนย์ก็ได้
เป็นจำนวนเต็มที่มีสมาชิกโดดเดียวตัวเดียวไม่มีเพื่อนเลย นั้นคือ เลข 0
เมื่อนำจำนวนเต็มทั้งสามชนิดมาเขียนเรียงต่อกันก็จะได้ ดังนี้ ครับ
...,-10,-9,-8,-7,-6,-5,-4,-3,-2,-1,0,1,2,3,4,5,6,7,8,9,10,11,12,...
จะเห็นว่า ศูนย์ อยู่ตรงกลางระหว่างจำนวนเต็มบวกและจำนวนเต็มลบ นะครับ ไม่ยากครับถ้าเข้าใจคอนเซปต์ของจำนวนเต็มแล้วต่อไปเราก็สามารถบวกลบ คูณ หาร จำนวนเต็มได้
วันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560
การสมการกำลังสองโดยใช้สูตร
การแก้สมการกำลังสองโดยใช้สูตร
\(x=\frac{-b\pm \sqrt{b^{2}-4ac}}{2a}\)
1.จงแก้สมการต่อไปนี้ 1.1 \(x^{2}-12x+11=0\)
วิธีทำ ขั้นตอนแรกเราต้องหาค่าของ a ,b และ c ก่อน น่ะ a คือสัมประสิทธิ์หน้าเอ็กซ์กำลังสอง b คือสัมประสิทธิ์หน้าเอ็กซ์ c คือค่าคงตัว จากโจทย์ จึงได้ว่า a=1 ,b=-12 และ c=11 นำค่าของ a,b และ c ไปแทนในสูตรเลยคับ
\(x=\frac{-b\pm \sqrt{b^{2}-4ac}}{2a}\)
\(x=\frac{-(-12)\pm \sqrt{(-12)^{2}-4(1)(11)}}{2(1)} \)
\(x=\frac{12\pm \sqrt{144-44}} {2}\)
\(x=\frac{12 \pm \sqrt{100}}{2}\)
\(x=\frac{12 \pm 10}{2}\)
จะได้ \(x=\frac{12 + 10}{2}\) หรือ \(x=\frac{12-10}{2}\)
\(x=\frac{22}{2}\) หรือ \(x=\frac{2}{2}\)
\(x=11\) หรือ \(x=1\)
1.2 \( 2x(x-3)=4(10-x)\)
วิธีทำ ข้อนี้เราต้องจัดสมการในข้อนี้ให้อยู่ในรูป \(ax^{2}+bx+c=0\) ก่อนนะคับ เพื่อที่จะหาค่าของ a,b,c จากโจทย์ \( 2x(x-3)=4(10-x)\) เอา 2x และ 4 คูณเข้าไปในวงเล็บเลย \(2x^{2}-6x=40-4x\) ทำฝั่งขวาของสมการให้เป็นศูนย์ ย้ายทุกพจน์ไปอยู่ฝั่งซ้ายให้หมด จะได้ \(2x^{2}-6x+4x-40=0\) พจน์ไหนที่บวกลบกันได้ก็จับบวกลบกันน่ะ \(2x^{2}-2x-40=0\) จากตรงนี้จะเห็นว่าสมการอยู่ในรูปของ \(ax^{2}+bx+c=0\) แล้ว นั่นคือ a=2 b=-2 c=-40 นำค่า a,b,c ไปแทนลงในสูตรเลยคับ จากสูตรคือจะได้
\(x=\frac{-b\pm \sqrt{b^{2}-4ac}}{2a}\)
\(x=\frac{-(-2)\pm \sqrt{(-2)^{2}-4(2)(-40)}}{2(2)}\)
\(x=\frac{2 \pm \sqrt{4+320}}{4}\)
\(x=\frac{2 \pm \sqrt{324}}{4}\)
\(x=\frac{2 \pm 18}{4}\)
จะได้ \(x=\frac{2+18}{4}\) หรือ \(x=\frac{2-18}{4}\)
\(x=\frac{20}{4}\) หรือ \(x=\frac{-16}{4}\)
\(x=5\) หรือ \(x=-4\)
1.3 \(x^{2}-3x-10=0\)
จะได้ว่า a=1,b=-3 และ c=-10 แทนค่าลงไปในสูตรเลยคับ จากสูตร
\(x=\frac{-b \pm \sqrt{b^{2}-4ac}}{2a}\)
จะได้ \(x=\frac{-(-3)\pm \sqrt{(-3)^{2}-4(1)(-10)}}{2(1)}\)
\(x=\frac{3\pm \sqrt{49}}{2}\)
\(x=\frac{3\pm 7}{2}\)
จะได้ \(x=\frac{3+7}{2} \quad หรือ \quad x=\frac{3-7}{2}\)
\(x=5 \quad หรือ \quad x=-2\)
1.4 \(x^{2}+4x+1\)
จากโจทย์จะได้ว่า a=1,b=4 และ c=1 จากสูตร
\(x=\frac{-b \pm \sqrt{b^{2}-4ac}}{2a}\)
จะได้ \(x=\frac{-4\pm \sqrt{4^{2}-4(1)(1)}}{2(1)}\)
\(x=\frac{-4\pm \sqrt{16-4}}{2}\)
\(x=\frac{-4\pm\sqrt{12}}{2}\) จากตรงนี้อย่าลืมน่ะว่า \(\sqrt{12}=2\sqrt{3}\) แทนค่าลงไปเลยจะได้ \(x=\frac{-4\pm 2\sqrt{3}}{2}\) ต่อไปตัวไหนตัดทอนได้ก็ตัดทอนไปเลย จะได้
\(x=\frac{-4}{2} + \frac{2\sqrt{3}}{2} \quad หรือ\quad x=\frac{-4}{2}-\frac{2\sqrt{3}}{2}\)
\(x=-2+\sqrt{3} \quad หรือ \quad x=-2-\sqrt{3}\)
1.5 \(3p^{2}+2=2p\)
จากโจทย์จัดสมการก่อนคับโดยทำให้ฝั่งขวาของสมการเป็นศูนย์ จะได้
\(3p^{2}-2p+2=0\) จะได้ a=3,b=-2 และ c=2 แทนค่าลงไปในสูตร
\(p=\frac{-b \pm \sqrt{b^{2}-4ac}}{2a}\)
\(p=\frac{-(-2)\pm \sqrt{(-2)^{2}-4(3)(2)}}{2(3)}\)
\(p=\frac{2\pm \sqrt{4-24}}{6}\)
\(p=\frac{2\pm\sqrt{-20}}{6}\)
จากตรงนี้จะเห็นว่าข้างในเครื่องหมายสแควท์รูทติดลบซึ่งหาค่าไม่ได้แน่นอนนั่นก็หมายความว่าสมการกำลังสองข้อนี้ไม่มีคำตอบ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)